ข่าวล่าสุด





จังหวัดชัยภูมิดำเนินโครงการ "รวมใจภักดิ์ ปลูกมเหสักข์-สักสยามินทร์ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ปี 2555

วันที่ 12 กรกฏาคม 2555 เวลา 09.00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ นายนิพนธ์สาธิตสมิตพงษ์ ได้รับเกียรติเป็นประธานพิธีปลูกมเหสักข์-สักสยามินทร์ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"ปี 2555

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีรับสั่งกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ และดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ และพระราชทานพระราชดำริ พระราชทานแนวทางดำเนินงาน มาเป็นระยะโดยตลอด มีเป้าหมายสรุป เพื่อพัฒนาบุคลากร อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืช ให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนชาวไทย วัตถุประสงค์ ให้เข้าใจเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช ร่วมคิดร่วมปฏิบัติจนเกิดประโยชน์กับมหาชนชาวไทย และมีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชที่สื่อถึงกันทั่วประเทศปัจจุบัน อพ.สธ. ดำเนินกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืชกิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชกิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืชกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชการดำเนินงานได้มีหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริจากหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ดำเนินกิจกรรมต่างๆในการอนุรักษ์พัฒนา ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพของไทยไม่ให้สูญหายโครงการอนุรักษ์พันธุพันกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริฯ สวนจิตรลดา และศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ. คลองไผ่ มีหน่วยปฏิบัติ ปฏิบัติการต่างๆ คือ หน่วยปฎิบัติการเมล็ดพันธุ์พืชหน่วยปฎิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และหน่วยปฎิบัติการ ชีวโมเลกุลพืชเป็นหน่วยที่จะปฏิบัติตามภารกิจ วัตถุประสงค์โครงการฯในปีพ.ศ.๒๕๔๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งให้ อนุรักษ์พืชพรรณและทำ DNA Fingerprintอพ.สธ.ได้ดำเนินการตามที่ทรงมีรับสั่ง ทำDNA Fingerprint พืชพรรณต่างๆ และจากต้นสักที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีอายุมากกว่า ๑,๕๐๐ ปี ปัจจุบันต้นสักดังกล่าว มีความสูง ๔๗ เมตร วัดรอบต้นได้ประมาณ ๑๐เมตร อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์อันอุดม ในวนอุทยานสักใหญ่ บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ อพ.สธ. จึงมีแผนงานที่จะทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อกระจายพันธุ์ต้นกล้าสักดังกล่าว ให้เป็นที่แพร่หลายในระบบนิเวศน์โดย อพ.สธ.ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อขอพระราชทาน นามสักใหญ่ดังกล่าว ซื่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯพระราช ทานนามว่า “มเหสักข์” เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อพสกนิกรชาวไทย เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒

สำหรับสักสยามินทร์ เป็นสายต้นที่หน่วยปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ทำการขยาย พันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อตรวจสอบ DNA Fingerprint ปรากฎว่าสักสยามินทร์มี DNAFingerprintของมเหสักข์มากกว่า ๕๐% เชื่อว่าสักสยามินทร์ เป็นลูกของมเหสักข์ โดยประวัติสักสยามินทร์หลักฐานที่หามาได้นั้น สามารถพิสูจน์ว่า ต้นสักสองต้นที่หน้าที่ว่าการอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นต้นสักที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯให้ ชาวอำเภอลับแลนำมาปลูกจาก ม่อนจำศีล ซึ่งพระองค์ท่านได้โปรดเกล้าฯ เมื่อคราวเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๔ เรียกว่า ต้นสักทั้งสองต้นนี้มีอายุไม่น้อยกว่า ๑๐๙ ปีนับแต่ปีที่นำมาปลูก ซึ่งหลักฐานที่ยืนยันได้จากหนังสือ"คนดีเมืองลับแล" หนังสือประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดอุตรดิตถ์ หนังสือประวัติเมืองอุตรดิตถ์ที่ สำคัญหนังสือประวัติม่อนสยามินทร์และต้นสักหน้าที่ว่าการอำเภอลับแล ได้กล่าวไว้ว่า “ในปี ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองลับแลพระศรีพนมมาศ เป็นนายอำเภอ ลับแล ตั้งพลับพลารับเสด็จที่ม่อนจุงจา (ม่อนชิงช้า) สมัยนั้นที่ว่าการอำเภอลับแล ตั้งอยู่ที่ม่อนจำศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสด็จผ่านม่อนจำศีลทรงเห็นว่าเป็นสถานที่สวยงามมาก มีต้นสัก และต้นไม้อยู่หนาแน่น ควรสงวนไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธ รูป ให้ชาวอำเภอลับแลได้กราบไหว้ บูชา พระพุทธรูปที่กล่าวถึงมีชื่อว่า “พระเหลือ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่หล่อจากทองที่เหลือหล่อพระพุทธชินราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำต้นสักจากม่อนจำศีลมาปลูก ที่ม่อนจุงจา จากคำบอกเล่าที่บอกต่อๆกันมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร.๕ ได้ทรงปลูกต้นสักที่ ม่อนจุงจา ปัจจุบันยังมีต้นสัก จำนวน ๒ ต้น หน้าที่ว่าการอำเภอ ต่อมาพระศรีพนมมาศได้ย้ายอำเภอ จากม่อนจำศีลไปตั้งที่ม่อนจุงจา และตั้งชื่อตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงมีพระบรมรา ชานุญาตว่า “ม่อนสยามินทร์” แต่ชาวอำเภอลับแลนิยมเรียกว่า“ม่อนสามินทร์” เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับพระราชทานกล้าไม้สักเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ อีกทั้งจังหวัด อุตรดิตถ์มีต้นสักที่ ใหญ่ที่สุดในโลก และมีประวัติศาสตร์การปลูกต้นสักที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่า จะพิสูจน์ไม่ได้ว่าจะเป็นต้นสักที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงปลูกด้วย พระองค์เองหรือไม่ แต่เมื่อต้นสักทั้งสองต้นนี้ได้ปลูกอยู่บนม่อนที่มีมงคลนามที่พระองค์ทรงพระ บรมราชานุญาตให้เป็นม่อนสยามินทร์ ก็สมควรที่ได้รับการกล่าวขานนามต้นสักที่อยู่บนม่อนดังกล่าวตามชื่อ ที่พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาต ต้นสักทั้งสองต้น โดยวัดสูงในระดับอกที่ ๑๓๐เซนติเมตรนั้น วัดโดยรอบต้นที่อยู่ทางด้านเหนือได้ ๒ เมตร ๒๐ เซนติเมตร ต้นที่อยู่ทางด้านใต้วัดโดยรอบได้ ๒ เมตร ๘๕ เซนติเมตร


สำหรับพิธีปลูกมเหสักข์-สักสยามินทร์ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"ปี 2555 ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนชาวจังหวัดชัยภูมิ โดยปลูกในสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ ปลูกทั้งหมด 320 ต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพโดย : พฤกษ์  ข่าวโดย : โดโด้